บทสวด ปฏิจจสมุปบาท


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท และ บทสวด อานาปานสติ ความยาว 3 ชั่วโมง 9 นาที


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที


พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

2 ทศวรรษ มรณภาพ"หลวงปู่ชา" รำลึกคำสอน"สัจธรรม(ะ)" ที่มิเคยละคุณค่าตามสังขาร

ที่มา มติชน





นอกจากทุกวันที่ 16 มกราคม จะเป็นวันครู แล้ว


ในปี 2555 นี้ วันที่ 16 มกราคม ยังเป็นวันครบรอบ 20 ปี วันละสังขารของ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หรือหลวงปู่ชา เกจิพระเถระชื่อดังแห่งภาคอีสาน ผู้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมจนโด่งดังไปทั่วโลก

พระโพธิญาณเถร นามเดิมว่า ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2461 ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ตามประวัติท่านมีจิตฝักใฝ่ธรรมมาแต่เด็กบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม 2474 ได้ 3 พรรษา แล้วก็ลาสิกขาอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2482 ปี พ.ศ. 2484 ออกศึกษาปริยัติต่างถิ่นโดยเริ่มที่วัดสวนสวรรค์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การที่ท่านบวชแต่เยาว์วัยยังผลให้ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางโลกเพียงแค่ ชั้นประถมปีที่ 1

หลวงพ่อชา เป็นผู้สนใจธรรมมาก ท่านมีความปรารถนาอยากรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จึงเริ่มศึกษาธรรมจากสำนักต่าง ๆ เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรม หลวงพ่อชาสิ้นภาระห่วงใย มองเห็นความเป็นอนิจจังของชีวิต หลังจากสอบนักธรรมเอกได้เกิดเบื่อหน่ายด้านปริยัติ พิจารณาว่าไม่ใช้ทางพ้นทุกข์ ประสงค์จะศึกษาด้านวิปัสสนาธุระบ้าง จึงออกธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เพื่อค้นหาอาจารย์ที่จะสอนด้านวิปัสสนาธุระ โดยระยะแรกมุ่งหน้าไปจังหวัดสระบุรี-ลพบุรี ที่ลพบุรีมุ่งตรงมาที่สำนักวัดป่าของหลวงพ่อเภา แต่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภามรณภาพเหลือแต่อาจารย์วันลูกศิษย์ จึงได้แต่ศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางไว้ และจากอาจารย์วัน อาจารย์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง คืออาจารย์ชาวเขมร (ซึ่งธุดงค์จากเขมรมาไทย และมุ่งไปพม่า) เป็นผู้วางหลักแนวทางปฏิบัติโดยใช้หนังสือ บุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา ซึ่งแต่งโดยพระอมรมภิรักขิต (เกิด) ในคณะธรรมยุตินิกาย หลวงพ่อชาจึงได้ใช้หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดหนองป่าพงและสาขามาจนทุก วันนี้

ปี 2490 หลังจากจำพรรษาที่เขาวงกต อยู่ได้หนึ่งพรรษา ได้ทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) เป็นผู้มีคุณธรรมสูงทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสมาก จึงเดินทางมาที่วัดหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร วันแรกย่างเหยียบเข้าสำนัก เห็นบริเวณร่มรื่น ปฏิปทาของพระภิกษุเคร่งครัดเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หลวงปู่มั่นได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับหลักธรรม อาทิ ศีลนิเทศ ปัญญานิเทศ พละ 5 อิทธิบาท 4 ให้แก่หลวงพ่อชาและศิษย์จนเป็นที่พอหายสงสัย


หลังจากฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชามีจิตอิ่มเอิบ เป็นสมาธิ และได้ยึดคำสอนปฏิปทาของท่านไว้เป็นแนวปฏิบัติต่อไปองค์ที่ตรัสว่า “ ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก ” ดังนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น กวาดวัด จัดที่ฉันล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม ในระหว่างวันพระถือเนสัชชิไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยถือหลักว่า “ สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ ” ดังนั้นศิษย์และญาติโยมจึงเกิดความเลื่อมใสเคารพยำเกรงในปฏิปทาที่หลวงพ่อ ดำเนินอยู่

ในระยะแรกของการมาอยู่ป่าพงค่อนข้างลำบาก ชาวบ้าน ญาติโยมผู้ศรัทธาเข้ามาสร้างวัดเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ให้ได้อาศัย ไข้ป่าชุกชุม เพราะเป็นป่าทึบ เมื่อเจ็บป่วยยารักษาก็หายาก โยมอุปัฏฐากยังน้อย อาหารการกินฝืดเคือง แต่กระนั้นหลวงพ่อก็ไม่เคยออกปากของญาติโยม แม้จะเลียบเคียงก็ยังไม่ยอมทำ ปล่อยให้ผู้พบเห็นพิจารณาด้วยตนเอง เดือนต่อมาเกิดสำนักชีขึ้นที่วัดเพื่อสนองคุณต่อโยมมารดาให้ได้ปฏิบัติธรรม โยมแม่พิมพ์จึงเป็นแม่ชีคนแรกของวัดหนองป่าพง และมีแม่ชีติดต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากและทางวัดมีการแบ่งเขตสงฆ์เขต ชีไว้เรียบร้อยไม่ก้าวกายปะปนกัน

วัดหนองป่าพงได้รับอนุญาตให้สร้างในปี 2513 ปี 2516 หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระ ราชาคณะที่ “ พระโพธิญาณเถร ” ปี 2519 สิ้นเงิน 5 ล้านบาท ปี 2520 ได้เดินทางไปประกาศสัจธรรมในภาคพื้นยุโรปเป็นครั้งแรกปี 2522 ได้เดินทางไปอังกฤษ อเมริกา คานาดา เพื่อประกาศสัจธรรม เป็นครั้งที่ 2


ปี 2525 หลวงพ่อชาอาพาธ เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง มีอาการเวียนศีรษะความจำเสื่อม จนต้องผ่าตัดสมอง หลังจากการผ่าตัด ท่านไม่สามารถพูดได้เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องอาศัยพระภิกษุในวัดช่วยปรนนิบัติเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด การบริหารวัดทั้งหมดมอบให้อาจารย์เหลื่อมเป็นผู้รักษาการแทน

กระทั่ง เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2535 หลวงพ่อชาถึงแก่มรณภาพ สร้างความอาลัยให้แก่ศฺษยานุศิษย์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกเป็นอย่างมาก

สังขาร ไม่เที่ยงทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจังเมื่อเกิด ก็ต้องมี เจ็บมีแก่และสุดท้ายก็ดับไป....


แม้เพลานี้ หลวงปู่ชาจะมรณภาพไปเป็นเวลา 2 ทศวรรษ พอดิบพอดีแล้ว แต่ธรรมคำสอนของท่าน ยังคงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังผู้ยึดมั่นในหลักแห่งพระ พุทธศาสนามิได้เสื่อมคลายลงแม้แต่น้อย


มติชนออนไลน์ จึงขออนุญาต นำคลิปวิดิโอ เสียงพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ชา ในเรื่องของการสอนทำสมาธิ และหัวข้อการเห็นความจริงเมื่อเห็นตน จากเว็บไซต์ youtube ที่มีผู้นำมาโพสต์ลงไว้ให้ผู้อ่านได้ซาบซึ้งสดรับรสแห่งพระธรรมในการตั้ง มั่น ได้แก่ หัวข้อ การฝึกสมาธิ การสอนให้เรารู้จักเห็นความจริงเมื่อเห็นตน การใช้ปัญญาให้เป็น และฝึกหัดเปลี่ยนนิสัย จากคำสอนของหลวงปู่ชาให้ได้ดูกัน เพื่อให้เราได้พิจารณาสติ เจริญพระธรรมและรู้แจ้งเห็นจริงแห่งอัตตาด้วยปัญญา เพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในโลกแห่งวัตถุ ท่ามกลางความเสื่อม ถดถอยแห่งศีลธรรม จรรยา และคุณงามความดี ที่ปัจจุบันผู้คนต่างล้วนมัวเหมาลุ่มหลงไปกับความไม่ถูกต้อง ความมัวเมา ความเห็นแก่ตัว กันมากมายเหลือเกิน ในการเป็นข้อคิดเตือนใจ ดำเนินชีวิตอย่างเป็นไป และไม่ทุกข์ ให้ได้รับชมรับฟังกัน...









ไม่มีความคิดเห็น: